พระสมเด็จ(พิมพ์ใหญ่) เกศทะลุซุ้ม(บรรจุกรุ) พ.ศ.๒๕๐๒ หลวงปู่ลำภู
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
|||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง | ||||||||||||||||
โดย
|
mon37 | ||||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | ||||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จ(พิมพ์ใหญ่) เกศทะลุซุ้ม(บรรจุกรุ) พ.ศ.๒๕๐๒ หลวงปู่ลำภู |
||||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระสมเด็จ(พิมพ์ใหญ่) เกศทะลุซุ้ม(บรรจุกรุ) พ.ศ.๒๕๐๒ หลังจากกรุ พระสมเด็จ บางขุนพรหม เปิดเมื่อปี พ.ศ.2500 แล้ว ปรากฏว่ามีพระหักชำรุดจำนวนมาก พระที่แตกหักเหล่านั้น หลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของกรุ) ได้นำเอาพระชำรุดเหล่านั้นมาบดตำทำขึ้นใหม่ในอีกสองปีต่อมา คือ ปี พ.ศ. 2502 ว่ากันว่า พระสมเด็จ รุ่นนี้แทบจะมีผงเก่าอยู่มากกว่า 60-70% ทีเดียว เป็น พระสมเด็จ ที่สร้างขึ้นใหม่ครั้งแรกหลังจากเปิดกรุ สร้างก่อน พระสมเด็จ ปี พ.ศ.2509 ถึง 7 ปี จึงเป็น พระสมเด็จ ที่สร้างจากผงเก่าซึ่งน่าบูชาสักการะอย่างยิ่ง พูดง่ายๆ ว่า ให้ แขวนแทนสมเด็จของเก่าได้สบายมาก หลวงปู่ลำภู คือใคร ที่สร้าง พระสมเด็จ ปี พ.ศ. 2502 ท่านก็คือพระเถระผู้มีศีลาจารวัตรเคร่งครัด คร่ำหวอดในทางพุทธาคมแห่ง วัดใหม่อมตรส นั่นเอง ถิ่นกำเนิด หลวงปู่ลำภู พระครูอมรคุณาจาร นามเดิม ลำภู นามสกุล เรืองนักเรียน นามฉายา คงฺคปญฺโญ วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ตรงกับวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ณ บ้าน ไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายคง นางผิว เรืองนักเรียน มีพี่น้องรวม 10 คน อาชีพกสิกรรม อุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เวลา 10.29 น. ณ วัดไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบัติ อินฺทโชติ เจ้าอาวาสวัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่ วัดไก่จ้น โดยมีพระเป็นครูสอน มีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทย ภาษาขอม พ.ศ.2473 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง สำนักเรียน วัดหนองเขื่อนช้าง จังหวัดสระบุรี ย้ายสำนัก วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2469 ย้ายจาก วัดไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่วัดช่างทอง ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาและปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งมี พระอาจารย์จำรัส เป็นอาจารย์สอน มีชื่อเสียงในสมัย อยู่ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานที่วัดช่างทองเป็นเวลา 7 ปี พ.ศ.2477 ย้ายจากวัดช่างทอง ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำพรรษาอยู่ ณ วัดใหม่อมตรส จนมีอาวุโสสูงสุด แต่ปฏิเสธการเป็นเจ้าอาวาส วัดใหม่อมตรส เนื่องจากอายุมากแล้ว จึงได้ให้ พระครูบริหารคุณวัตร (ชม) เป็นเจ้าอาวาสแทน แต่ก็ช่วยงานของ วัดใหม่อมตรส ตลอดมา จนกระทั่งมรณภาพเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2533 สิริอายุได้ 88 ปี เหตุที่กล่าวถึง วัดไก่จ้น ก็เพราะวัดแห่งนี้มีความผูกพันกับ หลวงปู่ลำภู นอกจากเป็นวัดที่ท่านบวชแล้ว ยังเป็นวัดที่ท่านกลับไปช่วยพัฒนาอยู่เสมอ และได้สร้าง พระสมเด็จ เอาไว้หลายรุ่น พระสมเด็จ บางขุนพรหม ปี 2514 คราวนี้ หลวงปู่ลำภู ท่านไม่ได้สร้างครบทุกพิมพ์ เท่าที่ทราบมาจะมี พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์จันทร์ลอย ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะต้องกด ยันต์จม พร้อมกับคำว่า หลวงพ่อลำภู ทุกองค์ ส่วนเนื้อผงมวลสารนั้นก็มีส่วนผสมของ พระสมเด็จ บางขุนพรหม อยู่ด้วย แล้วก็ยังมี เหรียญรูปไข่รุ่นแรก พิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์ และ เม็ดแตงอีก แล้ว หลวงปู่ลำภู ยังได้เชิญพระสหาย และพระที่นับถือมาร่วมพุทธาภิเษกที่กุฏิหลวงปู่อีกด้วย ส่วน เหรียญรุ่นที่ 2 นั้นหลวงปู่ออกปี 15 เป็นเหรียญรูปไข่ ต่อมาก็สร้าง สมเด็จ ปี 2516, 2517 นั้นได้ไปออกที่ วัดไก่จ้น จากนั้นปี พ.ศ.2519 หลวงปู่ลำภู ท่านก็ได้เปิดกรุพระของท่านนำพระออกมาแจกให้ลูกศิษย์ แต่หลวงปู่ดูแล้วว่าคงจะไม่พอจึงได้สร้างพระเพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องทำตราปั๊มที่ด้านหลังเพื่อบอก พ.ศ. มาปั๊มไว้ที่พระ เพราะฉะนั้นพระรุ่นนี้จึงมีทั้ง พระสมเด็จ ปี 2502 ฝังกรุไม่ปั๊มตรา และ พระสมเด็จ ปี 2502 ฝังกรุปั๊มตรา และ พระสมเด็จ ใหม่ปั๊มตรา ปี 2519 เอาไว้ ส่วนพระคะแนน นั้นไม่ได้ปั๊มตราเลย จนเมื่อถึง พ.ศ.2521 หลวงปู่ลำภู ก็ได้จัดงานกฐินและผ้าป่าสามัคคีไปที่ วัดไก่จ้น เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ (ซึ่งในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนิน วัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ วัดไก่จ้น ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เกศพระประธานในอุโบสถ ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ 2 ต้น พระราชทานทรัพย์ทำบุญบำรุงวัด 10,000 บาท) ในปีนี้เองที่มีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ที่ วัดไก่จ้น มีเกจิอาจารย์ไปร่วมพิธีมากมาย หนึ่งในนั้นคือ หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน เสาไห้ สระบุรี ที่นั่งเป่าพานแก้วแตกในพิธีพุทธาภิเษก สร้างความฮือฮาแก่ผู้พบเห็น ( ที่มา : ย่อจาก ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1078 เดือนกันยายน 2554 : พระสมเด็จ บางขุนพรหม ปี 2502 หลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส โดย เก่ง รางน้ำ ) สำหรับประวัติการสร้างพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู จากอดีตเมื่อปี 2500 วัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม) ได้ทำพิธีเปิดกรุเจดีย์ภายในวัดอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเจดีย์บรรจุพระเครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ก่อนหน้าจะเปิดกรุนั้นเจดีย์เกิดชำรุดผุพัง มีคนแอบมาตกพระออกจากเจดีย์ จนทางวัดต้องเปิดเจดีย์นำพระออกมาให้บูชา ซึ่งพระในเจดีย์ก็มีทั้งสภาพที่ดีและชำรุดแตกหัก แต่ทางวัดได้คัดเอาพระสภาพที่ดีออกให้บูชา ส่วนพระที่หักได้เก็บไว้ ตรงนี้เองที่จะกล่าวถึงการสร้างพระบางขุนพรหมปี 2502 เพราะตอนนั้น "หลวงปู่ลำภู" ได้เป็นกรรมการในการเปิดกรุ ซึ่งในขณะนั้นท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ส่วนพระที่หักหรือชำรุดจึงเก็บรักษาไว้ที่กุฏิหลวงปู่ลำภู พอผู้คนและบรรดาลูกศิษย์ทราบก็มาขอท่านอยู่บ่อยๆ จนท่านได้ตัดสินใจ นำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักมาบดจนละเอียด แล้วนำมาผสมผงมวลสารวิเศษต่างๆ และสมเด็จวัดระฆังฯ นำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2502 ทุกพิมพ์หลังเรียบทั้งหมด จากคำบอกเล่าของ พระครูสุทธิธรรมากร หรือหลวงตาประยูร ปัญญาภรโณ เจ้าอาวาสวัดไก่จ้น รูปปัจจุบัน ซึ่งเป็นลูกบุญธรรมหลวงปู่ลำภู กล่าวว่าช่างที่แกะพิมพ์พระคือ "นายเสน่ห์" ลูกศิษย์หลวงปู่ลำภูที่เคยบวชอยู่กับท่านได้แกะพิมพ์พระไว้ทั้งหมด 11 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ใหญ่ต้อ พิมพ์อกครุฑ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์คะแนน พิมพ์จันลอย และพิมพ์ไสยาสน์ โดยเฉพาะพิมพ์ไสยาสน์ หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างไว้น้อยมากๆ และพระที่เหลือท่านก็ได้นำลงฝังกรุที่วัดบางขุนพรหม เท่าที่สังเกตพระที่หลวงปู่ลำภูจารให้นั้นท่านจะจารแค่เลข ๙ เท่านั้น และต้องเป็นเลข ๙ ไทยเท่านั้นด้วยต่อจากนั้นหลวงปู่ลำภูท่านก็มาสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2514 คราวนั้นหลวงปู่ลำภูท่านไม่ได้สร้างครบทุกพิมพ์ เท่าที่ทราบมาจะมีพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์จันลอย ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะต้องกดยันต์จม พร้อมกับคำว่า "หลวงพ่อลำภู" ทุกองค์ ส่วนเนื้อผงมวล สารนั้นก็มีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมอยู่ด้วย แล้วก็ยังมีเหรียญรูปไข่รุ่นแรกพิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์และเม็ดแตงอีก แล้วหลวงปู่ลำภูยังได้เชิญพระสหายธรรมและพระที่นับถือมาร่วมพุทธาภิเษกที่กุฏิของท่านอีกด้วย ส่วนเหรียญรุ่นที่ 2 นั้น หลวงปู่ลำภูออกเมื่อปี 2515 เป็นเหรียญรูปไข่ ต่อมาก็สร้างพระสมเด็จ ปี 2516, ปี 2517 นั้นได้ไปออกที่วัดไก่จ้น จากนั้นปี 2519 หลวงปู่ลำภู ก็ได้เปิดกรุพระของท่าน นำพระออกมาแจกให้ลูกศิษย์ แต่ท่านดูแล้วว่าคงจะไม่พอ จึงได้สร้างพระเพิ่มขึ้นมาอีก ต้องทำตราปั๊มที่ด้านหลังเพื่อบอกพ.ศ.มาปั๊มไว้ที่พระ เพราะฉะนั้นพระรุ่นนี้จึงมีทั้งพระสมเด็จปี 2502 ฝังกรุไม่ปั๊มตรา และพระสมเด็จปี 2502 ฝังกรุปั๊มตรา และพระสมเด็จใหม่ปั๊มตราปี 2519 เอาไว้ ส่วนพระพิมพ์คะแนนนั้นไม่ได้ปั๊มตราเลย จนเมื่อถึงปี 2521 หลวงปู่ลำภูก็ได้จัดงานกฐินและผ้าป่าสามัคคีไปที่วัดไก่จ้น เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ ซึ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินยังวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เกศพระประธานในอุโบสถ ทรงลงพระปรมา ภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ 2 ต้น |
||||||||||||||||
ราคา
|
- | ||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
093-4825864 | ||||||||||||||||
ID LINE
|
Golf (ID LINE:Golf6), (มน ID:090-3569057) | ||||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
9,792 ครั้ง | ||||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
|
||||||||||||||||
|